วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฎหมายบริษัทจำกัดเกี่ยวกับหุ้น การลดทุน การเพิ่มทุน

บริษัทจำกัด

        ในการประกอบธรุกิจเพื่อแสวงหาพลกำไรนั้น บางกรณีดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียว แต่บางกรณีจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลอื่นจึงอาจทำให้ต้องมีเจ้าของมากกว่า 1 คน กิจการธรุกิจดังกล่าว ได้แก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันโดยสัญญาพิเศษทั้งนี้  ห้างหุ้นส่วนและบริษัทนั้นจัดว่าเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 ซึ่งกฎหมายบัญญํติถึงการรามกลุ่มในการประกอบธรุกิจใน รูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด  ซึ่งมีพระราชบํญญํติในการจัดตั้งและดำเนินการแยกออกมาเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง [1]

        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1096 บัญญัติว่า บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ" จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว ยังมี
การระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วย รวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพโดยผู้บริหารที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง [2]

       

        สารบัญ:

·        การจัดตั้งบริษัท
การจัดตั้งบริษัทค่อนจะข้างซับซ้อนและยุ่งยาก จะต้องมีการจดทะเบียนหลายหนมีการประชุมกัน มีการให้สัตยาบัน ต้องกระทำตามขั้นตอนทุกอย่าง มิฉะนั้นแล้วนายทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียนจะไม่ยอมรับจดทะเบียน  ซึ่งจะต้องมีผู้เริ่มก่อการ 7 คน (ซึ่งเดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น 3)ผู้เริ่มก่อการคือผู้ก่อตั้งบริษัท เป็นผู้มีความมุ่งหมายอยู่แล้วว่าจะตั้งบริษัทขึ้นเพื่อดำเนินกิจการอะไร จึงเป็นผู้ตระเตรียมจัดหาสิ่งจำเป็นทั้งหลายในการจัดตั้งบริษัท และเป็นผู้จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำไปจดทะเบียน จัดทำข้อบังคับของบริษัท จัดซื้อทรัพย์สินที่จำเป็น ตลอดจนหาทุนรอนของบริษัท[3]

    จะต้องมีการจัดทำหรือจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิอยู่ในมาตรา 1098 และ1099วรรคสองนั่นคือจะต้องมีผู้เริ่มก่อการ 7 คน (ซึ่งเดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น 3) ทำหนังสือบริคณห์สนธิแล้วนำไปจดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิเปรียบเสมือนธรรมนูญของบริษัท จดทะเบียนแล้วแก้ไขไม่ได้จนกว่าจะมีการโดยมติพิเศษ จะต้องนำมาจดทะเบียนแก้ไขด้วย เช่นตอนจัดทำข้อบังคับของบริษัท ซึ่งในหนังสือบริคณห์สนธิจะกำหนดเรื่องทุนที่จดทะเบียน ผู้เริ่มก่อการ และที่ตั้งสำนักงานของบริษัท [4]  เมื่อได้ระบุครบไว้แล้วตามที่มาตรา 1098 กำหนด ยังกำหนดวิอีกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ จะต้อง

1.   ทำไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ

2.   ลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการทุกคน

3.   มีพยาน คนลงชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการ


      ·        หุ้น
หุ้นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช่คำว่า มูลค่าหุ้นคือราตาของหุ้นที่บริษัทกำหนดไว้แน่นอนตายตัวว่าจะออกมาเท่าไร และจะต้องระบุไว้ใน หนังสือบริคณห์สนธิซึ่งทีการจดทะเบียนมูลค่าของหุ้นนี้ จึงเป็นมูลค่าที่จดทะเบียนไว้ และเรียกว่า มูลค่าหุ้นจดทะเบียนเพื่อให้แตกต่างกับมูลค่าหรือราคาหุ้นที่ซื้อขายกัน  มูลค่าของหุ้นที่กล่าวมานี้เป็นเสมือนราคากลางของบริษัทที่ตั้งไว้ จึงมักเรียกว่า  ราคาพาร์” (par value) ราคาที่แท้จริงหรือราคาซื้อขายของหุ้นอาจจะสูงหรือต่ำกว่า ราคาพาร์ก็ได้  และหุ้นนั้นได้กำหนดไม่ต่ำกว่า 5 บาท[5]  บริษัทอาจออกหุ้นประเภทเดียวมีสิทธิเหมือนกันหมด หรืออาจออกหุ้นหลายประเภทมีสิทธิแตกต่างกันก็ได้ หุ้นบางประเภทอาจมีสิทธิดีกว่าหุ้นธรรมดา และหุ้นบางประเภทอาจมีสิทธิน้อยกว่าหุ้นธรรมดาก็ได้ หุ้นธรรมดาซึ่งเป็นหุ้นส่วนใหญ่เรียกว่าหุ้น สามัญ (ordinary shares, common shares) หุ้นที่มีสิทธิดีกว่าเรียกว่า หุ้นบุริมสิทธิ (preference shares, prefered shares) ส่วนหุ้นที่มีสิทธิน้อยกว่าเรียนกันว่า หุ้นด้อยสิทธิ  (defered shares) หุ้นที่แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ถือตามสิทธิของผู้ถือนั้นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการได้รับเงินปันผล การลงคะแนนเสียง และการได้รับทุนคืนเมื่อมีการเลิกบริษัท หุ้นประเภทต่างๆ จะต้องระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ หรือมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งอาจแยกดังต่อไปนี้  [6]

1.   หุ้นสามัญ

       เป็นหุ้นที่ทุกบริษัทต้องมี ซึ่งผู้ถือหุ้นมีสิทธิธรรมดามีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการขาดทุน แต่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดเมื่อบริษัทมีกำไรมาก  เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามัญจัดเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน หรือเป็นเจ้าของกิจกรที่แท้จริง โดยมีสิทธิดังนี้ คือ

       1.1 สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งกรรมการบริหารงานบริษัท  ผู้สอบบัญชี และการกำหนดนโยบายบางอย่างของบริษัท

       1.2 สิทธิที่จะรับเงินปันผล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกาศจ่ายโดยจะได้รับหลังจากจ่ายให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจนครบตามสิทธิแล้ว

       1.3 สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ ได้ก่อนบุคคลอื่น

       1.4 สิทธิในการได้รับคืนทุนที่เป็นเงินสดหรือสินทรัพย์ เมื่อบริษัทเลิกกิจการ

   1.5                สิทธิในการเข้าตรวจดูการดำเนินงานของคณะกรรมการการเงิน และรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับกิจกรรมของบริษัท[7]

        2.หุ้นบุริมสิทธิ

       หุ้นบุริมสิทธิ  เป็นหุ้นที่บริษัทออกเพื่อต้องการเงินทุนมากขึ้น แต่ไม่ต้องการให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการควบคุมการดำเนินงาน ได้มีลักษณะเป็นทุนและหนี้สินไม่หมุนเวียน  ซึ่งลักษณะเป็นทุนเหมือนกับหุ้นสามัญคือได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล ตามที่คณะกรรมการมีมติให้ประกาศจ่าย จะได้มากน้อยอย่างไรขึ้นอยู่กับชนิดของหุ้นบุริมสุทธิ ในส่วนที่เป็นลักษณะหนี้สิ้นไม่หมุนเวียนนั้น ผลตอบแทนนี้เรียกว่าเงินปันผล ได้รับในอัตราคงที่กำหนดไว้ในใบหุ้นและไม่มีสิทธิออกเสียงและบริหารกิจการซึ่งเหมือนกับหุ้นกู้ที่มีสภาพหนี้สิน



       ชนิดของหุ้นบุริมสุทธิ

       หุ้นบุริมสุทธิที่ออกขายในกิจการบริษัทแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ  ดังนี้

       2.1 หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม

       2.2 หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม

       2.3 หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ

       2.4 หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ

       2.5 หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ

       2.6.หุ้นบุริมสิทธิเรียกไถ่คืนได้



       หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม  หมายถึง  หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลย้อนหลังสำหรับปีที่บริษัทไม่ได้ประกาศจ่าย  ซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลเฉพาะปีที่ประกาศจ่ายเท่านั้น

       หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม  หมายถึง  หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่มีสิทธิรับเงินปันผลในปีที่ประกาศจ่ายเงินปันผล และสามารถรับเงินปันผลย้อนหลังในปีที่ไม่ประกาศสะสมไปรับในปีที่ประกาศจ่าย

       หุ้นบุริมสิทธิชนิดรวมรับ หมายถึง  หุ้นบุริมสุทธิที่มีสิทธิรับเงินปันผลร่วมกับหุ้นสามัญ  ในส่วนของเงินปันผลที่เหลือจากที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับเงินปันผลในอัตราเดียวกับผู้ที่หุ้นบุริมสิทธิแล้ว โดยร่วมรับในอัตราส่วนทุนของหุ้นทั้งสองชนิดที่ได้รับชำระครบถ้วน

       หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสุทธิที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้ในปีทีประกาศจ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือจะเป็นสิทธิของหุ้นสามัญทั้งหมด

       หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ  หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิที่ไห้สิทธิในการแปลงสภาพ เป็นหลักทรัพย์ชนิดอื่นๆ ของบริษัท ได้ในภายหลังตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเป็นวิธีการจูงใจของบริษัทมหาชนจำกัด ให้ผู้ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ โดยทั่วไปสิทธิในการแปลงมักแปลงเป็นหุ้นสามัญ

       หุ้นบุริมสิทธิเรียกคืนได้  หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิที่สามารถเรียกไถ่คืนได้ตามเงื่อนไขและและระยะเวลาตามที่ผู้ออกหุ้นกำหนดไว้[8]

3.หุ้นด้อยสิทธิ

เป็นหุ้นโดยมีสิทธิได้รับเงินปันผลหลังจากที่หุ้นสามัญได้รับเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วน หุ้นเช่นนี้ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว หุ้นชนิดนี้มักจะออกขายให้แก่ผุ้ที่ขายกิจการให้แก่บริษัทซึ่งตั้งใหม่และ บริษัทประสงค์จะเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเพื่อเอาเงินมาซื้อกิจการนั้น  โดยบริษัทจะจ่ายค่าซื้อกิจการเป็นหุ้นจำนวนหนึ่ง การที่ผู้ขายกิจการยอมรับชำระเป็นหุ้นด้วยเท่ากับเป็นการร่วมลงทุนในบริษัท หากผู้ขายกิจการเป็นผู้มีชื่อเสียงหรือฐานะในการเงินดี ย่อมทำให้ประชาชนผู้ที่จะซื้อหุ้นมีความเชื่อถือในอนาคต[9]



        ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจำหน่ายหุ้นทุนของบริษัทจำกัด โดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ

       1.  เรียกไห้ชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มตามจำนวน

       2.  เรียกให้ชำระค่าหุ้นเป็นงวดๆ  จำหน่ายโดยการสั่งจองหุ้น



เรียกให้ชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มตามจำนวน

       การจำหน่ายหุ้นทุนในวิธีนี้สามารถดำเนินการได้ทั้งบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด โดยผู้ถือหุ้นสามารถจะชำระค่าหุ้นทุนที่ออกจำหน่ายได้เป็นเงินสด สินทรัพย์ต่างๆ และบริการอื่นๆ  ตามจำนวนที่จำหน่าย และเมื่อชำระครบแล้ว  บริษัทจะออกใบหุ้นให้ไว้เป็นหลักฐานจำนวนที่จำหน่ายดังนั้นการจำหน่ายหุ้นตามวิธีนี้สามารถจัดจำหน่ายได้ดังนี้

       1.  การจำหน่ายหุ้นทุนชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด

       2   การจำหน่ายหุ้นทุนชำระค่าหุ้นในลักษณะอื่นๆ  คือ

            1.1.  ชำระค่าหุ้นทุนด้วยสินทรัพย์อื่นๆ

            1.2.  ชำระค่าหุ้นทุนด้วยการให้บริการต่างๆ

            1.3.  ชำระค่าหุ้นทุนด้วยการโอนกิจการให้บริษัท



เรียกให้ชำระค่าหุ้นเป็นงวดๆ  จำหน่ายโดยการสั่งจองหุ้น

       การจำหน่ายหุ้นโดยการให้สั่งจองและชำระค่าหุ้นเป็นงวดๆ  กฎหมายได้กำหนดให้บริษัทเอกชนจำกัดเท่านั้นที่จะจำหน่ายทุนได้ในลักษณะนี้ และกำหนดให้จำหน่ายได้ในราคาตามมูลค่าหรือสูงกว่ามูลค่าได้ หากได้มีการกำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ แต่จะขายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าไม่ได้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินไม่มากได้สามารถลงทุนซื้อหุ้นได้ บริษัทจะกำหนดระยะเวลาการจอง   การชำระค่าหุ้นและการออกหุ้นไว้ต่างกัน  จึงแบ่งชำระค่าหุ้นได้เป็นงวดๆ ซึ่งจะเป็นกี่งวดนั้นขึ้นอยู่กับบริษัทจะกำหนดไว้  ตามกฎหมายไทยได้กำหนดการเรียกชำระค่าหุ้นดังนี้

       1.  ผู้สั่งจองหุ้นจะต้องส่งใช้คราวแรกจะต้องไม่น้อยกว่า 25 % ของมูลค่าหุ้น

       2.  ถ้ามีจำนวนส่วนล้ำมูลค่าจะต้องส่งใช้พร้อมกันกับการส่งใช้เงินคราวแรก

       3.  จำนวนค่าหุ้นที่เหลือต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้ชำระกี่งวด

       ตัวอย่าง 
            บริษัทสีแดง จำกัด  ได้ออกหุ้นสามัญ 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ได้ออกให้จองในราคา  110  บาท  และที่เหลือชำระเป็น 3 งวด เท่าๆ  กัน        

       การชำระคราวแรกคำนวณได้ดังนี้

       มูลค่าหุ้น  100 บาท 25 %                             25

       บวก  ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น                                   10

                                                                      35

       ราคาหุ้นที่เหลือ      (110 - 35)                       75

       ดังนั้น ค่าหุ้นที่ต้องชำระต่องวด (75/3)              25[10]



·        การเพิ่มทุน และการลดทุน

การเพิ่มทุน (Capital Increase) หมายถึง วิธีการบริหารงานของบริษัทที่เป็นมาจากนโยบายในการขยายกิจการ ซึ่งไม่ต้องการกู้ยืมเงิน ในการเพิ่มทุนจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนจากที่ได้จดทะเบียนไว้เดิมมาเป็นจำนวนใหม่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมูลค่าหุ้นเท่าเดิมตามที่จดทะเบียนไว้ครั้งแรก



       หลักเกณฑ์ในการเพิ่มทุน

       ในการเพิ่มทุนของบริษัทจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 1220-1223 และ 1228  ซึ่งการเพิ่มทุนในบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา  136-138  จึงสรุปได้ดังนี้

       1.  บริษัทจะเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่  ตามมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด  ตามมาตรา 1220  ส่วนบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 136 วรรค 2

       2.  หุ้นทุนที่ออกใหม่ด้วยการเพิ่มทุนจะต้องชำระด้วยเงินสด เว้นแต่จะทำตามมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งกล่าวไว้ใน มาตรา 1221  ในส่วนบริษัทมหาชนจำกัด  เมื่อได้จำหน่ายหุ้นทุนที่เพิ่มได้บางส่วนแล้ว  บริษัทจะขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนที่ชำระแล้วต่อนายทะเบียนโดยแบ่งออกเป็นงวดๆ  ละไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่เสนอขายก็ได้ ตามมาตรา 138                                                                             

       3.  หุ้นที่ออกใหม่ต้องเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ ตาม มาตรา 1222  ซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุนทุกๆ  คน โดยระบุจำนวนหุ้นให้ทราบว่าจะซื้อได้กี่หุ้นและให้กำหนดวัน ถ้าหากพ้นกำหนดผู้ถือหุ้นไม่รับการซื้อ กรรมการสามารถนำหุ้นออกขายให้แก่คนอื่นหรือจะซื้อไว้เองได้  ส่วนบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา  137

       4.  หนังสือบอกกล่าวที่เสนอให้ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นใหม่นั้น  ต้องลงวัน เดือน ปีและลายมือชื่อของกรรมการ  กำหนดไว้ในมาตรา 1223  ส่วนบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 138 วรรค 3

       5.  มติพิเศษซึ่งอนุญาตให้เพิ่มทุนนั้น บริษัทต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน ซึ่งนับตั้งแต่ได้ลงมตินั้น  ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1228 ส่วนบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 136 วรรค 3



       จากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น  บริษัทจะต้องออกหุ้นใหม่และจะต้องจำหน่ายไปยังผู้ถือหุ้นเดิมหรือบุคคลอื่น ในหลักการทางการบัญชี  สามารถออกหุ้นใหม่ได้ 2 วิธี คือ

       1.  ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย

       2.  ออกหุ้นใหม่โดยการจ่ายเป็นหุ้นปันผล[11]



 การลดทุน (Capital Decrease) หมายถึง วิธีการบริหารเงินทุนของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมาหาชน ให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งบริษัทอาจจะมีเงินทุนในการดำเนินงานมากเกินไปไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์  จะลดจำนวนทุนจดทะเบียนลงเพื่อคืนทุนให้กับผู้ถือหุ้น หรือบริษัทเกิดภาวะขาดทุน  จนไม่สามารถลบล้างผลขาดทุน  จะลดจำนวนทุนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสม ให้น้อยลงหรือล้างยอดทั้งหมดแล้วแต่กรณี  ในการลดทุนมีวิธีการปฏิบัติได้  2  วิธี ดังนี้

       1. ลดมูลค่าหุ้นให้ต่ำลง

       2. ลดจำนวนหุ้นให้น้อยลง



       หลักเกณฑ์การลดทุน

       ในการลดทุน จะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 1224-1228  หรือตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด  มาตรา 139-144 ซึ่งกำหนดได้ดังนี้  คือ

       1.  บริษัทลดทุนได้จะต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกำหนดในมาตรา 1224 หรือมาตรา 139 วรรค 3

       2.  บริษัทจะลดทุนต่ำกว่า 25% ของทุนที่จดทะเบียนไม่ได้ กำหนดไว้ในมาตรา 1225 หรือมาตรา 139 วรรค 1

       3.  บริษัทต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว กำหนดไว้ในมาตรา 1226  ในส่วนบริษัทมหาชนจำกัด  อย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตามมาตรา  143

       4.  บริษัทต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ให้ทราบว่ามีการลดทุน เพื่อให้เจ้าหนี้ส่งคำคัดค้านภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่บอกกล่าว  ตามกำหนดไว้ในมาตรา 1226  หรือ มาตรา 141

       5.  ถ้าเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งละเลยเสียมิได้คัดค้านด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินทุนในส่วนลดทุนยังต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เพียงจำนวนที่รับทุนคืนภายในสองปี  ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่จดทะเบียนการลดทุนนั้น ตามกำหนดในมาตรา 1227  บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จดทะเบียนลดทุน ตามมาตรา 144

       6.  บริษัทจะต้องนำมติพิเศษอนุญาตให้ลดทุนไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ ตามกำหนดในมาตรา 1228  หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามมาตรา 139 วรรค 3[12]

ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย  ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น    ได้กำหนดให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่  ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมไม่รับซื้อ  ในสัดส่วนที่เหลือจะนำไปเสนอขายให้กับบุคคลภายนอกหรือคณะกรรมการต่อไป

   ในการชำระค่าหุ้นที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนนี้จะต้องชำระด้วยเงินสดเท่านั้น  แต่ยกเว้นถ้ามีมติพิเศษจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยวิธีการชำระเหมือนกับการขายปกติ คือ

   1. จำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด  ชำระครั้งเดียวครบถ้วน

   2. จำหน่ายหุ้นโดยการสั่งจองชำระเป็นงวด ๆ





ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย

·        ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย

จำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด  ชำระครั้งเดียวครบถ้วน

   ดังนั้น ในการบันทึกบัญชี  จะเป็นอย่างไรจะต้องขึ้นอยู่กับวิธีการชำระเงินค่าหุ้นที่ออกจำหน่าย  เมื่อบริษัทได้นำหุ้นที่เพิ่มออกจำหน่าย ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคาตามมูลค่าและราคาสูงกว่ามูลค่า ซึ่งจะบันทึกบัญชีได้ดังนี้



   จำหน่ายหุ้นในราคาตามมูลค่า

        เดบิท  เงินสด                                             XXX        

                 เครดิต  ทุนหุ้นสามัญ                                           XXX

       

   จำหน่ายหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่า

        เดบิท  เงินสด                                             XXX

                 เครดิต  ทุนหุ้นสามัญ                                           XXX

                            ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ                             XXX



   

ตัวอย่างที่ บริษัทแสงสี จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนหุ้นสามัญ จำนวน 500 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทจำหน่ายได้ดังนี้

        ในวันที่  1  เมษายน  25X1  จำหน่ายได้  200  หุ้น  มูลค่าหุ้นละ  100  บาท 

        ในวันที่  20  เมษายน  25X1  จำหน่ายได้  300  หุ้น  มูลค่าหุ้นละ  110  บาท



การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้


จำหน่ายหุ้นโดยการสั่งจองชำระเป็นงวด ๆ

   บริษัทจำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นในลักษณะให้จองและชำระเป็นงวดๆ ได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจะชำระค่าหุ้นเป็นงวดได้  ต่อเมื่อได้ยื่นขอเปลี่ยนแปลงทุนชำระค่าหุ้นต่อนายทะเบียนในการจำหน่ายหุ้นทุนที่เพิ่มได้บางส่วน   ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ได้กำหนดไว้  ตามมาตรา 138  ในการบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้

   วันที่ให้จองหุ้น

       เดบิท   ลูกหนี้-ค่าหุ้นสามัญ                     XXX    

                 เครดิต   ทุนหุ้น-สามัญที่จองแล้ว                  XXX    

           

   วันที่รับชำระค่าหุ้น

       เดบิท   เงินสด                                      XXX

                 เครดิต   ลูกหนี้-ค่าหุ้นสามัญ                        XXX

       

   วันที่รับชำระครบถ้วนและออกใบหุ้น

       เดบิท   ทุนหุ้น-สามัญที่จองแล้ว                XXX

                 เครดิต   ทุนหุ้นสามัญ                                 XXX



ตัวอย่างที่ 2  วันที่  1  กุมภาพันธ์  25X1 บริษัทสีแดง จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และได้ออกจำหน่ายโดยการให้จองในราคาหุ้นละ 105 บาท บริษัทให้ชำระค่าหุ้นทันที 25% ของราคามูลค่าหุ้น บวกด้วยส่วนเกิน ที่เหลืออีก 75%  ให้ชำระวันที่ 1 มีนาคม 25X1  และออกใบหุ้นสามัญให้ผู้ที่จอง  การบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้[13]








Reference

[1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์พินิจ ทิพย์มณี. “หลักกฎหมายบริษัทจำกัด”. พิมพ์ครั้งที่3. (กรุงเทพ : วิญญูชน, 2547),  หน้าที่21
[2] ผู้ช่วยศาสตราจารย์พินิจ ทิพย์มณี. “หลักกฎหมายบริษัทจำกัด”. พิมพ์ครั้งที่3. (กรุงเทพ : วิญญูชน, 2547),  หน้าที่23
[3] ดร.ประวีณวัชร์ อิศรางกูร ญ อยุธยา คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท”. (กรุงเทพ : สำนักพืมพ์สูตรไพศาล,2543),  หน้าที่136

[4] อาจารย์ชัยยุทธ ศรีจำนง รวมคำบรรยายวิชากฎหมายหุ้นส่วย-บริษัท ภาค 1 สมัยที่ 55 ปีการศึกษา 2545” (กรุงเทพ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2545) หน้าที่ 282
[5] โสภณ รัตนากร คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทพิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2547) หน้าที่ 271
[6] โสภณ รัตนากร คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทพิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2547) หน้าที่ 275
[7] เบญจมาศ ดีเจริญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบริษัทจำกัด: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http:// http://kruben.krutechnic.com/u17.html


[8] เบญจมาศ ดีเจริญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบริษัทจำกัด: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http:// http://kruben.krutechnic.com/u17.html
[9] โสภณ รัตนากร คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทพิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2547) หน้าที่ 280
[10] เบญจมาศ ดีเจริญ. การจำหน่ายหุ้นทุน: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http://kruben.krutechnic.com/u2.html
[11] เบญจมาศ ดีเจริญ. การเพิ่มทุน ลดทุน และทุนหุ้นได้รับคืน: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http://kruben.krutechnic.com/u4.html
[12] เบญจมาศ ดีเจริญ. การเพิ่มทุน ลดทุน และทุนหุ้นได้รับคืน: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http://kruben.krutechnic.com/u4.html
[13] เบญจมาศ ดีเจริญ. การเพิ่มทุน ลดทุน และทุนหุ้นได้รับคืน: รายงานการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอน วิชาการบัญชีบริษัทจำกัด รหัสวิชา 2201-2103 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. (Online) available http://kruben.krutechnic.com/u4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น